เริ่มต้นวิธีติดตั้งและใช้งาน Laravel Framework

เริ่มต้นวิธีติดตั้งและใช้งาน Laravel Framework
by pairat.p | มีผู้อ่านล่าสุดเมื่อ 13 ชั่วโมงที่แล้ว

จำนวนผู้อ่าน
396
หัวข้อย่อย
2
ถูกใจ
1

Laravel คือ PHP Framework ตัวหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น ภายใต้แนวทางสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์แบบ MVC หรือ Model-View-Controller ในบทความนี้เราจะแนะนำการติดตั้ง laravel สำหรับมือใหม่

เริ่มต้นวิธีติดตั้งและใช้งาน Laravel Framework

Why Laravel ?  

   ด้วยความที่ Laravel เป็น Web Framework ที่เน้นไปในการให้ใช้งานง่าย มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้การเขียน Code เป็นระเบียบ ประหยัดเวลาในการ Coding ได้มาก  ข้อดีต่าง ๆ คือ 

  •  ติดตั้งง่ายสามารถติดตั้งผ่าน Composer ได้เลย
  • Docs อ่านง่าย มีรายละเอียดการติดตั้งและการใช้งานไว้อย่างละเอียด
  • มีคำสั่ง php artisan serve   ที่ช่วยให้เข้าสู่ Development Mode ได้ง่ายขึ้น
  • มี Environment Configuration ที่ใช้ในการ Config ค่าต่าง ๆ ไว้ที่ไฟล์ .env
  • มี Laravel Mix ที่เป็น Webpack สำหรับ Build CSS, JS ให้ใช้งานร่วมกับ views 
  • มี Routing ที่แยก API และ WEB ออกจากกัน ได้ดี 

ในบทความนี้เราจะใช้ Xampp เป็น ตัวช่วยในการติดตั้ง web server และติดตั้ง composer แล้ว 

เริ่มติดตั้ง laravel  บน windows  กันเลย

 

  • เปิดโปรแกรม VS Code จากนั้น เลือก เมนู Terminal 
  •  ใช้คำสั่ง cd C:\xampp\htdocs 
  • run คำสั่ง composer create-project laravel/laravel myproject 
  • ใช้คำสั่ง cd myproject 
  • ใช้คำสั่ง php artisan serve หรือ php artisan serve --port=8081 เพื่อ run project
  • เปิด browser ใส่ url ตามนี้ http://localhost:8081/   
รู้จักกับ Routing การสร้างเส้นทางต่าง ๆ ให้กับ Web

Laravel Framework นั้น แบ่งระบบ Routing ออกเป็น Web และ API แบบชัดเจน ซึ่งช่วยให้ทำ URL Friendly  ได้ง่ายขึ้น

  • สามารถกำหนด Routing ได้อย่างอิสระ ซึ่งหากเราทำ Routing มากกว่า 2 URLs ไปที่ Method เดียวกันใน Controller ก็สามารถทำได้
  • สามารถกำหนด Routing ให้แสดงผล โดยไม่ต้องเรียกใช้ Controller ได้เลย
  • สามารถกำหนด Routing โดยแบบไม่ต้องใช้ Controller แต่สั่งให้ Render View ได้เลย

Redirect Routes  ช่วยในการเปลี่ยนเส้นทาง URL ไปที่ Method อื่นได้อย่าง ง่ายดาย 

Route::redirect('/deedev', '/deedev/dotcom'); 
/*
|--------------------------------------------------------------------------
|  สามารถระบบ status code ไปกับ Route ได้เลย
|--------------------------------------------------------------------------
*/
Route::redirect('/deedev', '/deedev/dotcom', 301);


 

View Routes  ช่วยในการเรียก views ได้เลยโดยไม่ต้องเรียกใช้ controller 

Route::view('/', 'welcome');
/*
|-------------------------------------------------------------------------------------------
|  สามารถส่งค่าเพื่อไปแสดงในหน้า view ได้เลย โดยในหน้า views เพียงใช้คำสั่ง {{$website}} เพื่อแสดงข้อความ
|-------------------------------------------------------------------------------------------
*/
Route::view('/', 'welcome', ['website' => 'deedev.com']);

Route สามารถ return ข้อความกลับมาได้เลย

Route::get('/msg', function () {
    return 'Hello World ';
});

Router Methods ใน Laravel ทั้งหมด

 GET

  • มีการเก็บ cached การ request ได้
  • มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของ url และ parameters

POST

  •  ไม่ถูกเก็บไว้ใน history ของ browser 
  • request body สามารถกำหนดขนาดใหญ่ไว้ได้

PUT

  • เป็นลักษณะการสร้าง (created) หรือ อัพเดท (update) ข้อมูลฝั่ง serve

HEAD

  • ทำงานคล้ายกันกับ GET แต่ไม่คืนค่ากลับ

DELETE

  • การลบข้อมูลที่เป็น unique โดยส่วนใหญ่จะเป็น uuid หรือ id ที่ระบุเป็นเฉพาะเจาะจง

PATCH

  • เพื่อปรับเปลี่ยนบางอย่างของข้อมูลฝั่ง server

OPTIONS

  • เพื่ออธิบายการทำงานของ data ฝั่ง server
Route::get($uri, $callback);
Route::post($uri, $callback);
Route::put($uri, $callback);
Route::patch($uri, $callback);
Route::delete($uri, $callback);
Route::options($uri, $callback);

ตัวอย่างการทำ Route Groups ซึ่งภายใน Group สามารถทำ Middleware เพื่อเช็คว่า ระบบ Mainternance ไหม ก่อนจะเข้าถึง Routes นั้น ๆ

Route::group(['prefix' => 'member', 'middleware' => 'mainternance'], function() {
    Route::get('/login', function () {
        // Matches The "/member/login" 
    });
});

ตัวอย่างการใช้งาน Routing แบบ  Matching และ Any Methods 

Route::match(['get', 'post'], '/', function () {
    //
});

Route::any('/', function () {
    //
});